Credit by: https://www.aladinplaza.com
พิธีงานศพไทยถือเป็นประเพณีหรือพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ผู้ใกล้ชิดอย่างคนในครอบครัว หรือญาติสนิทมิตรสหาย จะกระทำให้กับผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อเป็นการให้เกียรติและระลึกถึงคุณงามความดีของผู้วายชนม์เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ค่ะ ซึ่งหรีดมาลาจะมาอธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการจัดพิธีศพกันค่ะว่ามีความเชื่อ วิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรกันบ้าง
เมื่อผู้ล่วงลับนั้นเสียชีวิตลงแล้ว ญาติหรือผู้ใกล้ชิดสามารถปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอนในการจัดพิธีงานศพไทย ดังต่อไปนี้คือ…
เมื่อมีผู้เสียชีวิต ลำดับแรกก่อนที่จะจัดพิธีงานศพไทยก็คือ “การแจ้งตาย” นั่นเอง โดยญาติหรือผู้พบศพจะต้องแจ้งตายที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาเสียชีวิตหรือพบศพ เพื่อขอรับใบมรณบัตร และเมื่อได้รับใบมรณบัตรแล้ว ควรถ่ายสำเนาเอกสารแล้วให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาเอกสารไว้ด้วยค่ะ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่วนใบมรณบัตรฉบับจริงจะต้องนำไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้เสียชีวิตมีภูมิลำเนาอยู่ พร้อมนำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จำหน่ายได้ว่าเสียชีวิตเมื่อใด โดยต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบภายในเวลา 15 วัน
ลำดับถัดมาก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่พิธีงานศพไทยก็คือ “การนำศพไปวัด” ค่ะ เมื่อแจ้งตายกับสำนักทะเบียนท้องถิ่นแล้วให้ติดต่อวัดที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลและขอให้ทางวัดจัดรถไปรับศพค่ะ แต่ถ้าผู้เสียชีวิตนั้นเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ก็สามารถแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เพื่อขอให้จัดรถส่งศพให้ จากนั้นให้นิมนต์พระสงฆ์ 1 รูปมาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดที่นำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลค่ะ ทั้งนี้ก่อนที่จะนำศพไปวัด ควรจัดเตรียมเสื้อผ้าจากโรงพยาบาลหรือทางบ้านให้เรียบร้อยก่อน พร้อมกับจัดเตรียมผ้าแพรสำหรับคลุมศพและรูปภาพที่จะตั้งหน้าศพ แต่ถ้าผู้เสียชีวิตนั้นเป็นผู้ที่อยู่ในเกณฑ์สมควรได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ให้แจ้งไปยังต้นสังกัดของผู้นั้นแล้วเดินเรื่องไปยังกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพต่อไปค่ะ
Credit by: https://th.wikipedia.org/ wiki/งานศพไทย
ร้านพวงหรีด “หรีดมาลา” บริการจัดส่งพวงหรีด ถึงศาลาทันเริ่มพิธี ส่งฟรีพื้นที่กรุงเทพ
“การอาบน้ำศพ” หรือที่เรียกว่า “พิธีรดน้ำศพ” ถือเป็นขั้นตอนแรกของพิธีงานศพไทยก่อนที่จะนำศพใส่โลงค่ะ โดยครอบครัวหรือญาติจะทำการอาบน้ำหรือชำระร่างกายศพให้สะอาด เพราะเชื่อกันว่าผู้เสียชีวิตจะได้จากไปสู่โลกอื่นอย่างบริสุทธิ์ค่ะ หลังจากอาบน้ำและแต่งตัวศพเรียบร้อยแล้วจึงนำศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับพิธีรดน้ำศพต่อไป และเมื่อเข้าสู่พิธีรดน้ำศพ เจ้าภาพและลูกหลานจะทำการรดน้ำศพก่อน แล้วจึงเป็นแขกผู้มาร่วมงาน คนสนิท และบุคคลที่นับถือ เพื่อแสดงความเคารพและความอาลัยต่อผู้ล่วงลับค่ะ
Credit by: https://th.wikipedia.org/ wiki/งานศพไทย
ขั้นตอนลำดับถัดมาของการจัดพิธีงานศพไทยก็คือ “การจัดงานบำเพ็ญกุศล” หรือ “พิธีสวดอภิธรรม” นั่นเองค่ะ ซึ่งพิธีสวดอภิธรรมนี้จะเริ่มสวดตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปประจำทุกคืน ส่วนมากจะนิยมสวด 1 วัน, 3 วัน, 5 วัน หรือ 7 วัน แต่ในบางรายอาจสวดพระอภิธรรมศพจนครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปนกิจศพค่ะ โดยเจ้าภาพจะนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูปมาสวดพระอภิธรรมศพจำนวน 4 จบ และเมื่อสวดพระอภิธรรมศพ เจ้าภาพจึงถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ทั้งนี้พิธีสวดอภิธรรมมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตายเป็นสำคัญและเป็นการให้เจ้าภาพ ญาติมิตร และแขกผู้มาร่วมงานแสดงออกถึงความเคารพนับถือและความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับอีกด้วยค่ะ
ในการจัดพิธีงานศพไทย ก่อนเข้าสู่ขั้นตอน “การฌาปนกิจศพ” ก็จะเป็น “การบรรจุเก็บศพ” นั่นเอง ซึ่งการบรรจุเก็บศพนี้จะกระทำหลังจากการสวดพระอภิธรรมในคืนสุดท้ายเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยจะนำศพไปเก็บที่สุสานหรือศาลา เพื่อรอให้ญาติหรือโอกาสที่เหมาะสมก่อนจะทำการฌาปนกิจหรือฝังศพในสุสานต่อไป
Credit by: https://thaipublica.org
“พิธีฌาปนกิจ” ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในพิธีงานศพไทยค่ะ เนื่องจากเป็นพิธีกล่าวอำลาและแสดงความอาลัยแก่ผู้ล่วงลับในครั้งสุดท้าย นอกจากนั้นยังเป็นวันสุดท้ายของศพที่จะเข้าสู่เชิงตะกอนอีกด้วยค่ะ ซึ่งพิธีฌาปนกิจนี้เป็นพิธีกรรมที่ทำให้ผู้ยังมีชีวิตอยู่ได้มีโอกาสระลึกถึงผู้ล่วงลับและตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิตเกี่ยวกับความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งที่ว่า “สิ่งใดในโลกล้วนอนิจจัง” ฉะนั้นให้รีบหมั่นทำความดีและสร้างบุญกุศลมากขึ้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยจะมีการเวียนศพไปทางด้านซ้ายหรือทวนเข็มนาฬิกาทั้งหมด 3 รอบ เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่ผู้ล่วงลับและเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับกฎไตรลักษณ์ อันได้แก่ “อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา” หรือ “การเวียนว่ายตายเกิด” นั่นเองค่ะ จากนั้นจึงจะเชิญศพขึ้นสู่เมรุ เจ้าภาพอ่านคำและยืนไว้อาลัยแล้วต่อด้วยเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล และตามด้วยประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ และสุดท้ายจึงจะเชิญแขกผู้ร่วมงานขึ้นประชุมเพลิงค่ะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ต้องมีในพิธีงานศพไทย
ในการจัดพิธีงานศพไทย “พิธีทำบุญครอบรอบวันตาย” ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้กันเลยค่ะ เพราะเป็นการทำบุญครั้งใหญ่ที่ญาติของผู้ล่วงลับพึงจะกระทำ เพื่อให้วิญญาณของผู้ล่วงลับได้รับผลบุญและไปสู่สุคติภูมิ ส่วนมากมักจะนิยมทำบุญครบรอบ 7 วัน, 50 วัน และ 100 วัน
หลังจากเสร็จสิ้นพิธีฌาปนกิจของพิธีงานศพไทยแล้วก็มาถึงขั้นตอน “การเก็บอัฐิ” ค่ะ ซึ่งเจ้าภาพอาจจะทำพิธีเก็บอัฐิหลังจากเผาศพ เพื่อรวบรัดขั้นตอนให้เสร็จภายในวันนั้นเลย หรือจะทำในเช้าวันรุ่งขึ้นก็ได้ค่ะ โดยพิธีนี้จะเริ่มจากนิมนต์พระสงฆ์มาพิจารณา “บังสุกุลอัฐิ” หรือที่เรียกกันว่า “แปรรูป / แปรธาตุ” ที่มีลักษณะเป็นการนำอัฐิของผู้ล่วงลับที่เผาแล้วมาวางเป็นรูปร่างคน เมื่อทำพิธีเก็บอัฐิเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจึงจะเก็บอัฐิใส่โกศด้วยการเลือกเก็บอัฐิจากร่างกายทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ กะโหลกศีรษะ 1 ชิ้น, แขนทั้งสอง, ขาทั้งสอง และซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น ส่วนอัฐิที่เหลือ รวมไปถึงขี้เถ้านั้นจะนำไปลอยอังคารค่ะ
Credit by: https://www.sanook.com/horoscope/126269/
ในการจัดพิธีงานศพไทยนั้น “พิธีลอยอังคาร” ถือเป็นขั้นตอนที่เราจะทำให้กับผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้ายค่ะ ซึ่งพิธีการลอยอังคารนี้จะเป็นการนำเถ้าถ่านที่เหลือจากการเผาศพไปลอยในน้ำ ส่วนมากจะนิยมนำไปลอยในแม่น้ำหรือทะเล สาเหตุที่คนส่วนใหญ่นิยมลอยอังคารฌาปนกิจศพแล้ว เพราะเชื่อกันว่าจะเป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สุคติหรือภพภูมิที่ดี มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข เปรียบเสมือนสายน้ำที่มีความชุ่มเย็นค่ะ
ในพิธีงานศพไทยนั้น “พิธีทำบุญครบรอบวันตาย” ก็ถือเป็นพิธีที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยค่ะ ซึ่งพิธีนี้จะเป็นการทำบุญใหญ่ให้กับผู้เสียชีวิตอีกอย่างหนึ่ง ส่วนมากแล้วมักจะทำเมื่อผู้ล่วงลับเสียชีวิตครบ 7 วัน, 50 วัน และ 100 วัน เพื่อผู้เสียชีวิตจะได้รับส่วนบุญส่วนกุศลและเดินทางไปสู่สุคติภูมิ โดยเจ้าภาพและญาติของผู้ล่วงลับจะมีการจัดพิธีทำบุญครบรอบวันตายด้วยการนิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป, 7 รูป หรือ 9 รูป เพื่อสวดเจริญพระพุทธมนต์ และเลี้ยงอาหารพระตอนเช้าหรือตอนเพล (เวลาประมาณ 11 โมง – ไม่เกินเที่ยง) ระหว่างนี้เจ้าภาพหรือญาติของผู้เสียชีวิตสามารถจัดให้มีการจัดแสดงธรรมเทศนาด้วยก็ได้ค่ะในพิธีงานศพไทยนั้น “พิธีทำบุญครบรอบวันตาย” ก็ถือเป็นพิธีที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยค่ะ ซึ่งพิธีนี้จะเป็นการทำบุญใหญ่ให้กับผู้เสียชีวิตอีกอย่างหนึ่ง ส่วนมากแล้วมักจะทำเมื่อผู้ล่วงลับเสียชีวิตครบ 7 วัน, 50 วัน และ 100 วัน เพื่อผู้เสียชีวิตจะได้รับส่วนบุญส่วนกุศลและเดินทางไปสู่สุคติภูมิ โดยเจ้าภาพและญาติของผู้ล่วงลับจะมีการจัดพิธีทำบุญครบรอบวันตายด้วยการนิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป, 7 รูป หรือ 9 รูป เพื่อสวดเจริญพระพุทธมนต์ และเลี้ยงอาหารพระตอนเช้าหรือตอนเพล (เวลาประมาณ 11 โมง – ไม่เกินเที่ยง) ระหว่างนี้เจ้าภาพหรือญาติของผู้เสียชีวิตสามารถจัดให้มีการจัดแสดงธรรมเทศนาด้วยก็ได้ค่ะ
หลังจากเพื่อน ๆ ได้อ่านบทความนี้แล้ว หรีดมาลาเชื่อว่าเพื่อน ๆ คงจะทราบเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนของพิธีงานศพไทยได้ดีขึ้นนะคะ