“ตาย” คำสั้น ๆ แต่ความหมายและความรู้สึกนั้นกลับประแทกอารมณ์ของทุกครั้งที่ได้ยิน ยิ่งคนที่เคยเข้าใกล้คำนี้แล้วยังเข้าใจและชวนใจแกว่งทุกครั้ง ด้วยความกลัวตายของทุกคนส่งผลต่อระบบความคิดและวัฒนธรรม พิธีกรรมความตายขึ้นเพื่อยืดเวลาหรือส่งคนที่เราห่วงใยได้ไปภพภูมิที่ดีตามความเชื่อในศาสนาพุทธ ในบทความนี้พาไปดู 3 พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายที่หลายคนมักจะทำทุกครั้ง
บังสุกุล หมายถึง ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น ใช้กับผ้าที่พระสงฆ์นำมาจากศพเพื่อทำเป็นจีวร โดยทั่วไปแล้วบังสุกุลจะมีทั้งบังสุกุลเป็นและบังสุกุลตาย ซึ่งบังสุกุลเป็น นั้นเป็นพิธีกรรมที่ทำแก่คนที่ยังมีชีวิตหรือคนเป็นที่ต้องการจะแก้เคล็ด หรือคนที่รู้สึกมีเคราะห์กรรม เผชิญเหตุการณ์ร้ายหรือกำลังป่วยมักจะนิยมทำกันเพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากตัว โดยพิธีการจะให้คนทำพิธีนอนหงาย ประนมมือเหมือนคนที่ตาย แล้วใช้ผ้าขาวซึ่งเปรียบเสมือนผ้าคลุมศพมาห่มทั้งตัว พระสงฆ์จะจับชายผ้าหรือผูกสายสิญจน์ไว้ที่ชายผ้า ก่อนจะกล่าวคำสวดสำหรับคนตายว่า “อะนิจจา วะตะ สังขารา…”
เมื่อพระสงฆ์สวดมนต์เสร็จแล้วผู้ทำพิธีบังสุกุลเป็นหันไปด้านตรงข้ามกับครั้งแรก แล้วคลุมผ้าขาวอีกครั้งก่อนที่พระสงฆ์จะสวดอีกครั้งว่า “อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถัง วะ กะริงคะรัง” เป็นการถือเคล็ดว่า “กลับฟื้นขึ้นมาใหม่แล้ว” การบังสุกุลนอกจากการปัดเป่าเรื่องไม่ดีแล้วยังมีคติสอนใจเรื่องความตายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอไม่อาจหลีกหนีได้ ในอีกแง่มุมหนึ่งก็เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ดำรงชีวิตอย่างมีสติและอยู่ในทำนองครองธรรมที่ดีต่อไป
ทำบุญต่ออายุเป็นอีกหนึ่งพิธีที่คนไทยนิยมทำปีละครั้ง โดยยึดถือวันสำคัญในชีวิตอย่าง วันเกิด เป็นต้นเพื่อเสริมศิริมงคลให้ชีวิตของตนและเป็นการเสริมอายุให้ยืนยาวมากขึ้น โดยหลัก ๆ แล้วคนส่วนใหญ่จะนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้าของวันเกิด เพื่อรับพรจากพระ แต่หากมีทุนทรัพย์ที่มากพอก็ยังสามารถสร้างพระพุทธรูปถวายวัด ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปถวายวัดนั้น ผู้ถวายหลายสลักชื่อของตนไว้ใต้ฐานพระเพื่อให้พระสงฆ์สวดมนต์เสริมดวงให้ตนเอง
และการปล่อยสัตว์ที่กำลังจพถูกฆ่านั้นเป็นอีกการทำบุญช่วยเหลือสัตว์ที่หลายคนมักจะทำอย่างการไถ่ชีวิต โค-กระบือ นอกจากเป็นการต่อชีวิตให้กับสัตว์แล้วยังเป็นความเชื่อที่ว่ากุศลดังกล่าวยังช่วยต่อชีวิตให้กับตนอีกด้วย ซึ่งทำบุญต่ออายุนั้นเป็นอีกหนึ่งคำสอนที่ให้ผู้กระทำรู้จักการแบ่งปัน ลดความอยากได้แล้ว การช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนไปด้วยในตัว และยังเป็นการเตือนจิตเตือนใจตนเองถึงการตำรงชีวิตอย่างมีสติ ไม่ตกอยู่ในความประมาทและมีจิตใจกุศลในการช่วยเหลือสังคม รวมไปถึงการส่งเสริมศาสนาพุทธให้อยู่ยืนยาวมากขึ้นผ่านการตักบาตร
เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมที่มักจะทำกับผู้ป่วยที่กำลังจะหมดลมหายใจ ขาข้างหนึ่งก้าวสู่ดินแดนความตาย ในช่วงเวลาดังกล่าวหากผู้ตายจิตใจสับสนวุ่นวาย เต็มไปด้วยความกลัวและกังวลเมื่อจากไปดวงวิญญาณอาจจะวนเวียนไม่ไปผุดเกิดหรือมีห่วงกังวลถึงคนเป็น ฉะนั้นจึงเป็นห่วงเวลาสำคัญที่ญาติจะใส่ใจมากที่สุดเช่นกัน โดยจะมีการเตรียม กรวยสำหรับใส่ดอกไม้ ธูป เทียน ซึ่งทำจากใบตอง นำมาใส่มือให้ผู้ป่วยและกระซิบข้างหูให้นึกถึงพระอรหันต์ หรือจะสวดภาวนาว่า อะระหัง สัมมา ฯลฯ ในอีกนัยหนึ่งยังเป็นการปรับจิตของผู้กำลังสิ้นลมให้มีสติรับรุ้และยอมว่าตนเองกำลังจะจากไปและปล่อยวางสิ่งกังวลใจบนโลกนี้ออกไป ทั้งการช่วยให้ผู้ตายได้ไปอย่างสงบนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีของทั้งญาติและผู้ตายเองด้วย
เรื่องการบอกทางคนตายนี้เริ่มต้นมากจากเรื่องเล่าที่มีต่อกันมายาวนาน เป็นเรื่องของนายพรานที่ล่าสัตว์มาตลอดชีวิต พอถึงเวลาที่ใกล้ตายจึงเห็นสัตว์ป่าที่ตนเคยล่ามายืนล้อมตนเองไว้ เมื่อลูกชายที่บวชเป็นพระภิกษุจึงจัดกรวยดอกไม้เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย และเมื่อใกล้ถึงเวลาพระลูกชายจึงเตือนสตินายพรานให้นึกถึงพระรัตนตรัยและกล่าวว่า….สัมมา อรหัง หรือ สัมมา สัมพุทโธ แล้วนายพรานก็จากไปด้วยความสงบ
ทุกพิธีที่กล่าวมาข้างต้นนอกจากเป็นพิธีที่ช่วยเหลือด้านจิตใจแล้วยังมีคำสอนแฝงอยู่เสมอ ถือเป็นพิธีกรรมที่หลายคนอาจจะเคยเห็นมาบ้างแล้ว อย่าลืมเข้าวัดทำบุญบำรุงพระพุทธศาสนากัน