เมื่อพูดถึง “วัดยาง” คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาจไม่ค่อยคุ้นหูนัก เนื่องจากเป็นวัดธรรมดา ๆ ที่ไม่มีชื่อเสียงมากนัก แต่หากเป็นคนที่อาศัยอยู่ในย่านอ่อนนุชหรือริมคลองพระโขนงแล้วล่ะก็จะต้องคุ้นเคยหรือเดินทางผ่านวัดแห่งนี้แน่นอนค่ะ และเพื่อให้ทุกคนรู้จักพระอารามหลวงที่มีอายุมากกว่า 200 ปีให้มากขึ้น วันนี้หรีดมาลาจะพาทุกคนไปเที่ยวชมพร้อมเล่าเรื่องราวประวัติและสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ตามหรีดมาลากันมาเลยค่า
วัดยางตั้งอยู่ในซอยอ่อนนุช 23 หากเดินทางด้วยรถยนต์ให้เลี้ยวเข้าทางเข้าปากซอยอ่อนนุช ฝั่งถนนสุขุมวิท 77 ในระยะทางไม่ถึง 3 กิโลเมตรก็จะถึงวัด แต่หากเดินทางมาจากคลองพระโขนงไปประเวศ วัดจะอยู่ทางขวามือค่ะ ปัจจุบันวัดแห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ 24 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา และที่ธรณีสงฆ์อีก 1 แปลงที่มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา โดยตั้งวัดก่อนในปี พ.ศ. 2384 ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นวัดที่สร้างมาอย่างยาวนาน แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ มีอายุมากกว่า 200 ปี สาเหตุที่ชาวบ้านในสมัยก่อนเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดยาง (หลวงพ่อโต)” ตามประวัติเล่าว่า… แต่เดิมนั้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมามี “หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัยที่สร้างขึ้นจากไม้แกะสลักได้ลอยมาหยุดหรือมายั้งบริเวณท่าน้ำหน้าวัด ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ วัดในสมัยนั้นเป็นชาวลาวที่อพยพย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมากก็ได้อัญเชิญหลวงพ่อโตขึ้นมาตั้งไว้ในวัดเพื่อกราบไหว้บูชา จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดยั้ง” และเมื่อเวลาผ่านไป คนไทยได้ย้ายมาอยู่อาศัยมากขึ้นจึงได้เปลี่ยนหรือเพี้ยนชื่อจากคำว่า “วัดยั้ง” จนกลายเป็นชื่อวัดมาจนถึงปัจจุบันค่ะ และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 วัดแห่งนี้ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอาหารหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ส่วนคลองที่คนลาวยังคงอาศัยอยู่นั้นยังคงมีชื่อว่า “คลองบ้านหลาย (บ้านมาก)” ที่ตั้งอยู่ห่างจากวัดไปประมาณ 600 เมตรค่ะ
เมื่อเดินเข้าไปในวัดยางกันแล้วก็จะพบกับสถาปัตยกรรมและสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด คือ…
พระอุโบสถของวัดยางแต่เดิมมีลักษณะเป็นเรือนไม้ เก๋งจีน ก่ออิฐถือปูน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี พ.ศ. 2400 ต่อมาในปี พ.ศ.2496 พระราชพัฒโนดม หรือพระอาจารย์บุญช่วย (บุญช่วย ธมฺมรกฺขิโต) ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสในขณะนั้นให้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น โดยมีขนาดความกว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร ลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงหลังคา 2 รดน้ำด้วยกระเบื้องเผาเคลือบสี และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2500 แต่เนื่องด้วยประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาเป็นจำนวนมาก ทำให้มีขนาดพื้นที่รองรับไม่เพียงพอ ในปี พ.ศ. 2536 จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้ขยายพื้นที่ของพระอุโบสถเพิ่มเติมเป็นขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร มีลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน หลังคา 3 รดน้ำ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบมัน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ตั้งอยู่ในวัดยางมีลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 27.20 เมตร หลังคาทรงไทยใบเทศ ตรีมุข (สามมุข) มีช่อฟ้าใบระกา มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ภายในวิหารมี “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่สร้างจากไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนเข้ามากราบไหว้เคารพบูชาอยู่ไม่น้อย
ภายในวัดมีบาตรน้ำมนต์ขนาดใหญ่มาก ๆ ตั้งอยู่
หลังจากหรีดมาลาพาทุกคนเที่ยวชมและเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดยาง พระอารามหลวง 200 ปีกันไปแล้ว เป็นอย่างไรกันบ้างคะ? สนุกกันมั้ย? ถ้าสนุก คราวหน้าหรีดมาลาจะพาทุกคนไปเที่ยววัดแห่งอื่นกันอีกค่ะ ส่วนจะเป็นวัดแห่งไหนนั้น ต้องรอในโอกาสต่อไปค่า…
เรียบเรียงข้อมูลโดย : Wreathmala ผู้ให้บริการจัดส่งพวงหรีดวัดยาง